โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และไอ

โรคหวัด  โรคไข้หวัดใหญ่ และไอ

( Cold, Flu and Cough)

โรคหวัด หรือโรคไข้หวัดธรรมดา ประกอบด้วยอาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาการไซนัสอักเสบ และโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งมีสาเกตุมาจากไวรัส อาการที่เกิดขึ้นคือ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล  และไอ การซื้อยาจากร้านขายยาสามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากไข้หวัดนี้ได้   อาการที่เกิดจากไข้หวัดใหญ่ก็มีอาการคล้ายคลึงกัน แต่จะมีไข้สูง ปวดหัว และปวดเมื่อตามร่างกาย ควรไปพบแพทย์ในกรณีที่ต้องได้รับยาต้านไวรัส

knowledge02_01-1

 

โรคหวัดหรือโรคไข้หวัดธรรมดา (Common Cold)

โรคหวัดเกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่าไวรัส ซึ่งมีมากกว่าสองร้อยชนิดที่ทำให้เกิดไข้หวัดธรรมดา ไวรัสชนิดที่พบมากที่สุดคือ ไรโนไวรัส (Rhinovirus) ที่พบว่าทำให้เกิดโรคหวัดถึงร้อยละสิบถึงสี่สิบ  โคโลน่าไวรัส (Coronavirus)เป็นสาเหตุร้อยละยี่สิบ ในขณะที่อาร์เอสวีไวรัส (Respiratory syncytial virus, RSV) และ พาราอินฟลูเอนซาไวรัส (Parainfluenza virus) เป็นสาเหตุทำให้เกิดไข้หวัดร้อยละสิบ

 

อาการ

มักจะเริ่มต้นด้วยอาการเจ็บคอ และมักจะมีอาการเหล่านี้ตามมาด้วย

  • น้ำมูกไหล (ใส และเป็นน้ำ)
  • จาม
  • เมื่อยล้า
  • ไอ

โดยปกติไข้หวัดธรรมดาจะไม่ทำให้เกิดไข้สูง แต่ถ้ามีอาการไข้สูง อาจจะเป็นสาเหตุมากจากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย

อาจการเจ็บป่วยในช่วงสองสามวันแรกจะมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำ แต่หลังจากนั้นน้ำมูกจะเหนียวข้นขึ้น และมีสีคล้ำลง นอกจากนี้ยังมีอาการไอที่ไม่รุนแรง ที่จะมีอาการคงอยู่ไปประมาณสองอาทิตย์หลังจากเริ่มเป็นหวัด

โรคหวัดสามารถทำให้อาการหอบหืดแย่ลงได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

ถ้าเสมหะข้น เหนียว และมีสีคล้ำลง อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และถ้าอาการไอไม่ทุเลาลงในช่วงสองสามอาทิตย์แรก ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสม

อาการหวัดมักจะเกิดขึ้นภายในสองถึงสามวันหลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสหวัด และอาการจะคงอยู่ประมาณสามถึงเจ็ดวัน

ช่วงแพร่กระจายเชื้อหวัดจะอยู่ในช่วงสามวันแรกของอาการป่วย แต่ก็ยังมีโอกาสที่แพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ในช่วงอาทิตย์แรก

จะสังเกตได้อย่างไรว่าเป็นหวัดหรือภูมิแพ้

บางครั้งอาจเกิดการสับสนระหว่างอาการหวัด กับอาการภูมิแพ้  ถ้าอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และหายไปในช่วงหนึ่งถึงสองอาทิตย์ คาดว่าน่าจะเป็นหวัดไม่ใช่ภูมิแพ้

สังเกตได้อย่างไรว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือแค่อาการหวัดธรรมดา

บอกได้โดยการใช้ปรอทวัดไข้ โดยอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ในกรณีที่ไม่รุนแรงจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่ไข้หวัดธรรมดามักจะวัดอุณหภูมิได้ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส

ไข้หวัดใหญ่นอกจากจะมีอาการไข้สูงแล้ว มักจะทำให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดหัว

 

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด เมื่อเป็นโรคหวัด

ยกเว้นในทารกแรกเกิด โรคหวัดไม่เป็นอันตราย อาการมักจะหายไปโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่พิเศษแต่อย่างใด แต่เมื่อเจ็บคุณป่วยภูมิคุ้มกันร่างกายจะทำงานแย่ลง ทำให้เสียงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียได้

ควรไปพบแพทย์เมื่ออาการหวัดไม่ดีขึ้น หรืออาการแย่ลง แพทย์จะทำการตรวจหู คอ และฟังปอด หรือแพทย์อาจจะทำการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคในคอไปตรวจโดยใช้ไม้พันสำลีป้ายบริเวณคอ  ซึ่งถ้าพบว่ามีการติดเชื้อจะต้องทำการการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

ควรไปพบแพทย์เมื่อพบอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดหู
  • มีอาการปวดบริเวณรอบๆจมูก และตา (บริเวณไซนัส) มากกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • วัดไข้ได้เกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรือวัดได้ใกล้ 39 องศาเซลเซียส และถ้าลูกของคุณมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน และมีไข้วัดอุณหภูมิได้ 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ควรพาไปพบแพทย์ทันที
  • มีไข้มากกว่าหนึ่งวันในเด็กแรกเกิดที่อายุต่ำกว่าสองวัน หรือมีไข้มากกว่าสามวันในเด็กอายุ 2 ขวบหรือมากกว่า
  • ไอมีเสมหะมานานกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • หายใจถี่
  • อาการโดยรวมแย่ลง
  • มีอาการเกิดขึ้นนานกว่า 2 สัปดาห์
  • มีปัญหาในการกลืน กลืนอาหารลำบาก
  • เจ็บคอมานานกว่า 5 วัน
  • มีอาการแน่นหน้าอก หรือแน่นท้อง
  • มีอาการคอแข็ง เกร็ง และตาแพ้ต่อแสงจ้าๆ

นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์เมื่อ

คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และเป็นโรคหวัด

เด็กแรกทารกแรกเกิดเริ่มมีอาการหวัด

อาการไข้หวัดของคุณแย่ลงหลังจากวันที่สามของการได้รับเชื้อโรคหวัด

 

การป้องกันโรคหวัด

การป้องกันที่ดีที่สุดจากโรคไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่คือ การล้างมือบ่อยๆ  โดยประมาณ 80% ของโรคติดต่อที่ติดต่อโดยกผ่านการสัมผัส ดังนั้นการล้างมือบ่อยๆจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด การล้างมือด้วยสบู่ และเช็ดให้แห้ง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

การรักษาโรคหวัด

แนวทางการรักษาโรคหวัด คือ ดูแลรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การพักผ่อน และกินยาลดไข้ ไม่จำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากโรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย เพราะยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไวรัส ไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องกิน

การดูแลตนเองเมื่อเป็นหวัด ได้แก่

  • พักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาร่างกายให้อบอุ่น
  • กินยาพาราเซตามอลลดไข้ ไม่ควรใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากยาได้ เช่น การแพ้ยาแอสไพริน
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ (เมื่อทำเอง อย่าให้เค็มมาก) และทุกครั้งหลังกินอาหาร และ ดื่มเครื่องดื่ม
  • กินยาลดน้ำมูก และ/หรือ ยาบรรเทาอาการไอ (ปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยากินเอง)
  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัย

 

โรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ อินฟลูเอ็นซ่า (Influenza) หรือที่เรียกกันว่า ” ไข้หวัดใหญ่ (Flu) ” เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ หรือบีไวรัส ไข้หวัดใหญ่ปรากฏบ่อยที่สุดในช่วงฤดูหนาว  ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะโจมตีร่างกายโดยการแพร่กระจายผ่านทางระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน และส่วนล่าง

images3

 

ความแตกต่างระหว่าง โรคหวัด และ โรคไข้หวัดใหญ่

โรคหวัด และโรคไข้หวัดใหญ่ ต่างก็เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อไวรัส แม้ว่าอาการของทั้งสองโรคจะคล้ายคลึงกัน แต่อาการของโรคไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงกว่า

อากาจาม คัดจมูก และเจ็บคอพบได้ทั่วไปเมื่อเกิดโรคหวัด ทั้งโรคหวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดอาการไอ ปวดหัว และแน่นหน้าอก  แต่โรคไข้หวัดใหญ่จะทำให้เกิดอาการไข้สูงอยู่หลายวัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หมดแรง อาการของโรคไข้หวัดยังมีแนวโน้มที่จะมาในทันที โรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหวัดธรรมดาพบได้ค่อนข้างน้อย แต่กรณีที่รุนแรงของโรคไข้หวัดสามารถนำไปสู่โรคที่คุกคามต่อชีวิตได้ เช่นโรคปอดบวม

มากกว่า 100 ชนิดของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดธรรมดาได้ถูกค้นพบ และมีการวิวัฆนาการของไวรัสไข้หวัดเกิดเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากโรคหวัด และโรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้ โปรดจำไว้ว่ายาปฏิชีวนะใช้ในการรักษาโรคที่ติดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ใช่เชื้อไวรัส

ณ ตอนนี้ยังไม่มียาชนิดใดที่ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่อย่างเฉพาะเจาะจงได้  การใช้ยาปฏิชีวนะวจะใช้เฉพาะในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียตามมาเท่านั้น

 

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่มักจะมาในทันทีทันใด ซึ่งแตกต่างจากโรคหวัดธรรมดา และอีกความแตกต่างที่สำคัญ คือโรคไข้หวัดใหญ่จะทำให้มีไข้สูง ซึ่งมักจะไม่พบในไข้หวัดธรรมดา  และยังพบอาการดังต่อไปนี้ด้วย

  • อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่ออย่างรุนแรง
  • มีอาการปวด และเมื่อยล้ารอบดวงตา
  • อบอุ่นผิวแดงและสีแดงน้ำตาไหล
  • มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง
  • ปวดหัว
  • ไอแห้งๆ
  • เจ็บคอ และน้ำมูกไหล

ผู้ใหญ่ที่มีไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมักจะไม่มีอาการอาเจียน หรือมีอาการท้องเสีย แต่ก็อาจพบได้ แต่ถ้าอาการเหล่านี้เกิดในเด็กควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจหมายถึงอาการป่วยที่รุนแรงได้ อาการอื่นๆที่บ่งบอกถึงอาการป่วยที่รุนแรงทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ซึ่งควรไปพบแพทย์ประกอบด้วย

  • มีการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่
  • มีอาการปวด แน่น บริเวณ หน้าอกหรือท้อง
  • มีมาการเวียนศีรษะอย่างฉับพลัน
  • รู้สึกความสับสน
  • มีการอาเจียนอย่างรุนแรง

 

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่จะขึ้นอยู่กับอาการ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีอาการคัดจมูก หรือมีการอุดกั้นบริเวณไซนัส ยาลดอาการคัดจมูก (Decongestant) ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้

ยาลดอาการคัดจมูก (Decongestants)  จะมาในรูปแบบสเปรย์ที่ใช้ฉีดในช่องปาก หรือจมูก ยาชนิดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อลดอาการบวมของทางเดินหายใจในโพรงจมูก อย่างไรก็ตามยาพ่นจมูกไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้

หากคุณมีอาการน้ำมูกไหล  คัน น้ำตาไหน  ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) จะช่วยบรรเทาอาการได้  ยาต้านฮิสตามีนจะช่วยยับยั้งผลของสารฮิสตามีนในร่างกาย และยังช่วยบรรเทาอาการที่น่ารำคาญ เช่นอาการจาม  คัน และน้ำมูกไหล

การรับประทานยาต้านฮิสตามีนจะทำให้มีอาการง่วงซึมได้ ในขณะที่การใช้ยาลดอาการคัดจมูกจะทำให้ตื่นตัว  และการใช้ยาสองตัวนี้สามารถส่งผลต่อการใช้ยาตัวอื่นๆได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมา ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา

 

การรักษาเมื่อมีอาการคัดจมูก

ถ้าต้องการใช้ยาลดอาการคัดจมูกสามารถใช้ยาลดอาการคัดจมูกชนิดสเปรย์พ่นได้ แต่ไม่ควรใช้นานเกินสามวัน เพราะถ้าใช้เป็นเวลานานแล้วหยุดใช้ จะทำให้มีอาการคัดจมูกกลับมาได้

แพทย์บางท่านจะแนะนำให้ใช้สเปรย์น้ำเกลือล้างจมูกแทนยาลดอาการคัดจมูก น้ำเกลือล้างจมูกจะช่วยลดความหนืดของน้ำมูกที่ข้นเหนียวในโพรงจมูก และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเมื่อใช้เป็นเวลานาน

อย่างไรก็ตามยาชนิดนี้ส่งผลต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงได้ ผู้ป่วยที่โรคความดันโลหิตสูง หรือสงสัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรไปพบแพทย์ก่อนใช้ยา

 

การรักษาเมื่อมีอาการไอ

อาการไอเป็นบางครั้งช่วยขับเสมหะส่วนเกินได้ แต่ถ้ามีการไออย่างต่อเนื่อง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยโรค ในร้านขายยาคุณจะพบยาแก้ไอจำนวนมากที่มีส่วนผสมของยาหดหลอดเลือดม ยาต้านฮิสตามีน, ยาลดไข้, ยาระงับอาการไอ และยาขับเสมหะ ดังนั้นก่อนซื้อยามารับประทานควรสอบถามเภสัชกรว่ามีการผสมตัวยาผสมชนิดใดบ้างที่เหมาะสมสำหรับอาการไอของคุณ

 

การรักษาเมื่อมีอาการไข้ และปวดเมื่อตามร่างกาย

เด็กควรหลีกเลี่ยงแอสไพริน,  พาราเซตามอล ( Acetaminophen หรือ Tylenol) หรือยาเช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)  และ นาพรอกเซน (Naproxen) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาเพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวด ยาแต่ละชนิดมีความเสี่ยง ดังนั้นควรตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรว่ายาใดที่เหมาะสมกับคุณ

 

การรักษาอาการเจ็บคอ

การดื่มน้ำมาก ๆ  และการบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ใช้น้ำต้มสุกผสมเกลือเล็กน้อยประมาณหนึ่งช้อนชา) จะช่วยการบรรเทาอาการเจ็บคอได้ ยาอมแก้เจ็บคอ และน้ำยาบ้วนปากก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บคอได้เช่นกัน แต่ไม่ควรใช้เกินกว่าสองถึงสามวัน และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ เนื่องจากถ้าอาการเจ็บคอเกิดจากากรติดเชื้อแบคทีเรีย ควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเท่านั้น และยาปฏิชีวนะควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย และดูแลการใช้ยา เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

 

ยาปฎิชีวนะจำเป็นในการรักษาไข้หวัดใหญ่หรือไม่

ยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยรักษาอาการไข้หวัดได้ ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและยาปฏิชีวนะจะรักษาเฉพาะการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่จำเป็นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการรักษาการติดเชื้อในภายหลังเนื่องจากการใช้ยาปฎิชีวนะที่พร่ำเพื่อจะทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะได้ หากคุณติดเชื้อแบคทีเรียหลังจากติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้ใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง

1372829105-asu136dlpa-o

 

อาการไอ

การไอเป็นวิธีที่ร่างกายจะขจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเมือกออกจากปอดและทางเดินลมหายใจส่วนบนเมื่อเกิดอาการที่ระคายเคือง อาการไอมีลักษณะเฉพาะที่คุณสามารถสังเกตได้ อาการไอเป็นแค่เพียงอาการผิดปกติ ไม่ใช่โรคและมักเกี่ยวข้องกับการประเมินอาการอื่น ๆเพื่อวินิจฉัยโรค

caughing

อาการไอที่ก่อให้เกิดเสมหะ(เสลด)

การไอที่มีเสมหะ เสมหะอาจระบายลงด้านหลังลำคอจากจมูกหรือไซนัส หรืออาจเกิดขึ้นจากปอด เมื่อเกิดอาการไอแบบมีเสมหะ ไม่ควรใช้ยาระงับการไอถ้าไม่จำเป็น ควรปล่อยให้ร่างการระบายเสมหะออกจากปอด การไอแบบมีเสหะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น:

  • การไอที่เกิดการติดเชื้อไวรัส ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดขึ้นจากโรคหวัดอาการไอมักถูกกระตุ้นโดยเสมหะที่ระบายออกทางด้านหลังของลำคอ
  • การติดเชื้อของปอดหรือทางเดินลมหายใจส่วนบน การติดเชื้ออาจทำให้เกิดอาการไอได้ การไอแบบมีเสมหะที่เกิดจากสาเหตุนี้มักเกี่ยวข้องกับโรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือวัณโรค
  • โรคปอดอักเสบเรื้อรัง อาการไออาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และอาการเริ่มแย่ลงจากการติดเชื้อซ้ำ
  • กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร อาการไอประเภทนี้อาจเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD) และอาจรบกวนการนอนได้
  • การสูบบุหรี่หรือการใช้ยาสูบอื่น ๆ การไอที่มีเสมหะมักเป็นสัญญาณของความเสียหายของปอดหรือการระคายเคืองในลำคอหรือหลอดอาหาร

 

อาการไอที่ไม่มีเสมหะ(เสลด) หรือไอแห้ง

การไอที่ไม่ก่อให้เกิดเสมหะ หรืออาการไอแห้ง อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูหนาว หรือหลังจากสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่นฝุ่นหรือควัน มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอแห้งได้เช่น:

 

  • อาการไอที่เกิดจากไวรัส มักหลังจากการเป็นไข้หวัด อาการไอแห้งอาจเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ และอาการไอมักจะเกิดมากขึ้นในเวลากลางคืน
  • อาการหลอดลมหดเกร็ง อาการไอแห้ง โดยเฉพาะในตอนกลางคืนมักมีสาเหตุมาจากอาการกระตุกในหลอดลม (หลอดลมหดเกร็ง) ที่เกิดจากการระคายเคือง
  • เกิดจากโรคภูมิแพ้ และการจามบ่อยครั้งยังเป็นอาการทั่วไปของโรคเยื่อจมูกอักเสบจากอาการภูมิแพ้
  • เกิดจากยาที่เรียกว่า ACE inhibitors ที่ใช้ในการควบคุมความดันโลหิตสูง ตัวอย่างของสารยับยั้ง ACE ได้แก่ captopril (Capoten), enalapril maleate (Vasotec) และ lisinopril (Prinivil, Zestoretic หรือ Zestril)
  • การสัมผัสกับฝุ่นละอองควันและสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • โรคหอบหืด อาการไอแห้งเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของโรคหอบหืดชนิดไม่รุ่นแรง อาการอื่น ๆ อาจได้แก่ หายสั้น, หายใจถี่, หรือรู้สึกจุกบริเวณหน้าอก
  • เกิดจากการอุดกั้นทางเดินลมหายใจจากวัตถุแปลกปลอม เช่นจากอาหาร หรือยาชนิดเม็ด
  • อาการไอส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะไม่สามารถใช้เพื่อรักษาโรคที่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสได้ การใช้ยาปฏิชีวนะโดยที่ไม่จำเป็นจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้และผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะเช่นคลื่นไส้อาเจียนท้องร่วงผื่นคัน และการติดเชื้อจากยีสต์ ยิ่งไปกว่านั้นยาปฏิชีวนะอาจฆ่าแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และกระตุ้นการพัฒนาแบคทีเรียที่เป็นอันตรายให้ทนต่อยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่งผลร้ายต่อผู้ป่วยได้ในระยะยาว

การประเมินสุขภาพอย่างรอบคอบอาจช่วยให้คุณสามารถระบุอาการของโรคอื่น ๆ ได้  โปรดจำไว้ว่าอาการไอเป็นเพียงอาการ ไม่ใช่โรค และลักษณะของอาการไอสามารถใช้วินิจฉัยโรคได้ ดังนั้นการสังเกตอาการไอของตนเอง จะสามารถช่วยให้แพทย์หาสาเหตุของอาการไอ และวินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น

 

การบรรเทาอาการไอสำหรับผู้ใหญ่

  • ป้องกันอาการขาดน้ำโดยการดื่มน้ำมาก ๆ การดื่มน้ำให้มาก ๆจะทำให้การระบายเสมหะง่ายขึ้น และลดอาการระคาบเคืองในลำคอ เช่น การดื่มน้ำอุ่น ชาอุ่นๆ หรือน้ำผึ้งผสมมะนาว
  • ยกศีรษะของคุณให้สูงขึ้นด้วยหมอนเสริม เวลานอนตอนกลางคืน เพื่อบรรเทาอาการไอแห้ง
  • ใช้ยาอมบรรเทาอาการไอ
  • ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอากาศ
  • เลิกสูบบุหรี่ยาสูบชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่คุณมีอาการไอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ดูหัวข้อเลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสูดดมสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่นควันฝุ่นหรือสารมลพิษอื่น ๆ ควรสวมหน้ากากป้องกัน คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำในการเลือกใช้หน้ากากป้องกันให้เหมาะสม
  • หากคุณสงสัยว่ามีปัญหาเกี่ยวกับกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อน ซึ่งทำให้คุณเกิดอาการไอ แนะนำให้ศึกษาเรื่องอาการแสบร้อนบริเวณทรวงอก

tee-1740871_1920

การบรรเทาอาการไอ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาบรรเทาอาการไอที่มีส่วนผสมของตัวยาอื่น ๆ เช่นยาลดน้ำมูก หรือยาลดไข้ ควรใช้ยาที่รักษาเฉพาะอาการไอเท่านั้น ยาแก้ไอมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ยาละลายเสมหะ และยาระงับอาการไอ

  • ยาละลายเสมหะ ตัวยาจะช่วยขับเสมหะ โดนจะช่วยให้น้ำมูก และเสมหะไม่ข้นหนืด และขับออกได้ง่ายขึ้นผ่านการไอ
    • ใช้ยาละลายเสมหะเมื่อคุณมีอาการไอที่มีเสมหะเหนียวข้น และขับออกมายาก อย่างไรก็ตามควรดื่มน้ำปริมาณมาก ๆร่วมด้วย ไม่ควรใช้ยาละลายเสมหะเพียงอย่างเดียว
  • ยาระงับอาการไอ หรือยากดอาการไอ จะช่วยยับยั้งกลไกการไอของร่างกาย เหมาะสำหรับผู้เป่วยที่มีอาการไอแห้งในตอนกลางคืนที่รบกวนการนอน ปราบปรามควบคุมหรือปราบปรามการสะท้อนไอและทำงานได้ดีที่สุดสำหรับอาการไอแห้งที่ทำให้คุณตื่นตัว
    • ไม่ควรใช้ยากดอาการไอพร่ำเพื่อ ควรใช้ยาเมื่ออาการไอรบกวนการนอน หรือการพักผ่อนเท่านั้น เพราะการไอนั้นมีประโยชน์ การไอจะช่วยขับเสมหะออกจากปอดและหลอดลม และช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยที่มีโรคหอบหืดและโรคปอดชนิดอื่น ๆ จำเป็นต้องมีอาการไอ เพื่อช่วยขับสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย
    • หากคุณมีอาการไอแห้ง และรู้สึกระคายเคือง ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาแก้ไอที่มีประสิทธิภาพ การใช้ยาแก้ไออย่างพร่ำเพื่อ จะทำให้เกิดผลเสียตามมา ดังนั้นควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และใช้ยาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ควรเก็บยาในที่ที่ปลอดภัย และห่างไกลจากเด็กเล็ก

ข้อควรระวัง

  • การใช้ยาบรรเทาอาการไออาจทำให้เกิดปัญหากับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่นโรคหอบหืดภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง ต้อหิน หรือต่อมลูกหมากโต
  • การใช้ยาบรรเทาอาการไออาจมีผลกระทบกับตัวยาอื่น ๆ เช่นยากล่อมประสาท และยาแก้ซึมเศร้าบางชนิด ดังนั้นควรฉลากอ่านอย่างรอบคอบ หรือขอให้เภสัชกรหรือแพทย์ของคุณช่วยในการเลือกใช้ยา
  • การใช้ยาบรรเทาอาการไอควรใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะถ้าคุณอายุมากกว่า 60 ปี หรือถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจเรื้อรัง
  • อ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา เพื่อให้คุณรู้ว่าคุณกำลังจะทานยาอะไร ยาบรรเทาอาการไอบางชนิดมีสัดส่วนของแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก ยาบรรเทาอาการไอบางชนิดยังมีส่วนผสมของโคดีอีน ตัวยาบรรเทาอาการไอมีให้เลือกมากมาย ดังนั้นควรขอให้เภสัชกรของคุณให้คำแนะนำก่อนการใช้ยา
  • ไม่ควรใช้ใบสั่งจ่ายยาแก้ไอจากแพทย์ร่วมกับคนอื่น เนื่องจากอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายตามมาได้

 

http://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/understanding-common-cold-basics#1

http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/

http://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/default.htm