โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression)

thaihealth_c_abhklqw13458
Image Source: http://www.thaihealth.or.th

คุณเคยมีประสบการณ์เป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่? หรือไม่อาจจะเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคซึมเศร้า หรือเคยพบและช่วยเหลือเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน โรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลโดยทั่วไป ถ้าเรามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ และรู้จักวิธีป้องกัน ก็จะสามารถช่วยให้ดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

  • โรคซึมเศร้า (Depression) คืออะไร?
  • จะทราบได้อย่างไรว่าเรามีภาวะซึมเศร้า?

โรคซึมเศร้า (Depression) คืออะไร?

คนส่วนใหญ่มีความรู้สึกเศร้าสร้อยหรือหดหู่ ความรู้สึกหดหู่เป็นปฏิกิริยาปกติที่เกิดจากการสูญเสีย หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิต หรือการสูญเสียภาคภูมิใจในตนเอง

แต่เมื่อความรู้สึกโศกเศร้าที่รุนแรงเกิดขึ้น รวมทั้งความรู้สึกสิ้นหวังและไร้ค่า ขาดกำลังใจและไร้ความช่วยเหลือ  เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวคุณเป็นระยะเวลานาน อาจจะหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และส่งผลต่อกิจวัตประจำวัน สิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่มากกว่าความโศกเศร้าเสียใจ และเกิดเป็นภาวะโรคซึมเศร้าได้  และโรคซึมเศร้าก็เป็นอาการวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาได้

 

จะทราบได้อย่างไรว่าเรามีภาวะซึมเศร้า?

1393120615-1379588382-o

ตาม DSM-5 หรือคู่มือที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคผิดปกติทางจิต เมื่อคุณมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้น และถ้าคุณมีอย่างน้อยห้าอาการต่อไปนี้อย่างน้อยสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจจะเป็นสัญญานของการเกิดโรคซึมเศร้าได้

  • มีอารมณ์หดหู่มากที่สุดในช่วงวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้า
  • มีความเมื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย
  • มีความรู้สึกของไร้ค่าหรือความรู้สึกผิดเกือบทุกวัน
  • ขาดสมาธิ ความสามรถในการตัดสินใจลดลง
  • Insomnia (นอนไม่หลับ นอนหลับยาก) หรือ hypersomnia (นอนมากเกินไป) เกือบทุกวัน
  • ขาดความกระตือรือร้น และขาดความสนใจในกิจกรรมที่ตนเองเคยสนใจย่างเห็นได้ชัด
  • ความคิดที่เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตหรือการฆ่าตัวตาย (ไม่เพียง แต่กลัวตาย)
  • มีความรู้สึกหรือความคิดว่าไม่อยากมีตัวตน อยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย
  • น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด หรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

 

หัวใจสำคัญในการสังเกตว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่คือ การสูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่คุณเคยทำและมีความสุข   สำหรับการวินิจฉัยของภาวะซึมเศร้า อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเกือบทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์ นอกจากนี้อาการซึมเศร้าจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทุกข์ รู้สึกด้อยค่า อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากผลกระทบของยาที่ผู้ป่วยใช้ หรือไม่ได้มีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยเช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

 

อาการโรคซึมเศร้า

สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติได้กล่าวไว้ว่า คนที่มีโรคซึมเศร้าไม่ได้มี อาการโรคซึมเศร้า เกิดขึ้นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด  ความรุนแรง ความถี่ และการคงอยู่ของโรค ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล  อาการของภาวะซึมเศร้าที่พบได้โดยทั่วไปมีดังนี้

  • ความสามารถในการควบคุมสมาธิ การจดจำข้อมูล และการตัดสินใจลดลง
  • มีความเมื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย
  • มีความรู้สึกผิด รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า และ/หรือ ไร้ความช่วยเหลือ
  • มีความรู้สึกสิ้นหวัง และ/หรือ มองโลกในแง่ร้าย
  • นอนไม่หลับ หรือนอนเยอะเกินไป และมีอาการอ่อนเพลียหลังตื่นนอนตอนเช้า
  • หงุดหงิดและกระสับกระส่าย
  • ขาดความสนใจในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ตนเองเคยสนใจ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์
  • การสูญเสียของความสุขในชีวิต
  • กินมากเกินไป หรือความอยากอาหารลดลง
  • มีอาการปวดเมื่อยอย่างต่อเนื่อง และมีอาการปวดหัว, เป็นตะคริว, หรือปัญหาทางเดินอาหารที่ไม่หายแม้ได้รับการรักษาแล้ว
  • มีความรู้สึกเศร้าสร้อย วิตกกังลวง หรือมีความรู้สึกว่างเปล่าอยู่ตลอดเวลา
  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

 

อะไรคือสัญญาณเตือนของการฆ่าตัวตาย?

อาการซึมเศร้ามีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูง ผู้ป่วยที่แสดงออกถึงความคิดฆ่าตัวตายหรือมีความตั้งใจหรือพยายามที่จะฆ่าตัวตาย ควรจะได้รับดำเนินการรักษาอย่างจริงจัง อย่าลังเลที่จะพาไปพบจิตแพทย์

559000002375703

 

สัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตายสามารถสังเกตได้ดังนี้

  • มีความคิด หรือเอ่ยปากถึงความตาย หรือการฆ่าตัวตาย
  • มีความพูด หรือความคิดที่ทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายผู้อื่น
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือหุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิด

ประวัติการพยายามฆ่าตัวตายจะเพิ่มความเสี่ยงในการพยายามฆ่าตัวตายได้ในอนาคต  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยกล่าวถึงความรุนแรง และการฆ่าตัวตายมาก่อนควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ถ้าผู้ป่วยมีความตั้งใจ หรือเตรียมแผนการฆ่าตัวตายควรนำตัวไปพบจิตแพทย์โดยด่วน เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

การรักษาโรคซึมเศร้า

 

Image Source: http://www.oncologynurseadvisor.com
Image Source: http://www.oncologynurseadvisor.com

การวางแผน การรักษาโรคซึมเศร้า สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าจะขึ้นอยู่กับประเภทของอาการที่พบ และความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับจิตบำบัด ผู้ป่วยรายอื่นๆอาจต้องได้รับยาต้านอาการซึมเศร้า หรือได้รับการรักษาอื่น ๆ ส่วนการออกกำลังกายก็สามารใช้ร่วมในแผนการรักษาได้

หากการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นไม่สามารถรักษาอาการให้หายได้ แพทย์อาจแนะนำเทคนิคการกระตุ้นสมอง เช่น การรักษาด้วยไฟฟ้าในผู้ป่วยจิตเวช (เรียกว่า ECT หรือการรักษาด้วยการช็อตไฟฟ้า) การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กเฉพาะที่ หรือกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส

ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งวางแผนการรักษาที่ดีสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายอาจต้องใช้การทดลองการรักษาเพื่อหาทางเลือกทีดีสุดที่เหมาะสมกับแต่ละคน นอกจากนี้ยาต้านโรคซึมเศร้าอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการออกฤทธิ์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้ป่วยสามารถขอคำปรึกษาและวิธีการรักษาได้จากจิตแพทย์หลายๆท่านก่อนที่จะทำการตัดสินใจรักษาได้

การรักษาต้องใช้ความอดทนและควรบอกจิตแพทย์อย่างตรงไปตรงมา จิตแพทย์จึงจะสามารถหาสาเหตุที่ถูกต้องได้ และช่วยให้อาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

 

http://www.webmd.com/depression/guide/depression-overview-facts

http://www.webmd.com/depression/guide/depression-treatment-care

http://www.webmd.com/depression/guide/what-is-depression#1