โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง (Cancer)

โรคมะเร็ง คือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ โรคมะเร็ง มีมากกว่า 100 ชนิด ได้แก่

มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาการที่แสดงออกก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็งประกอบด้วยการรักษาด้วยเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา และ / หรือการผ่าตัด

1. มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)

 

1
credit: http://www.nonthavej.co.th

 

ต่อมลูกหมากเป็นต่อมในระบบสืบพันธุ์เพศชาย เป็นแหล่งผลิตน้ำอสุจิที่ประกอบไปด้วยสเปิร์ม ต่อมลูกหมากมีขนาดเท่าผลวอลนัท ตั้งอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ และโดยรอบจะประกอบด้วยท่อนำปัสสาวะส่วนต้น  มะเร็งต่อมลูกหมาก มักจะเป็นโรคมะเร็งที่เจริญหรือรุกรามอย่างช้าๆ มักจะไม่ก่อให้เกิดอาการจนกว่าจะเกิดโรคในระยะรุนแรง คนส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น ๆ และมีผู้ป่วยอีกหลายรายที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เมื่อมะเร็งต่อมลูกหมากเริ่มรุกรามอย่างรวดเร็ว หรือมะเร็งแพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก ก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก (จะพบมะเร็งได้ในต่อมลูกหมากเท่านั้น) สามารถรักษาได้ง่าย และมีโอกาสรอดชีวิตสูง

โรคมะเร็งที่มีการแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก (เช่นกระดูก ต่อมน้ำเหลือง และปอด) จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ยังสามารถควบคุมการดำเนินโรคไม่ให้รุกรามได้เป็นเวลาหลายปี เพราะความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะท้ายๆหรือรุนแรกจะยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างน้อยห้าปี ผู้ป่วยเพศชายในระยะรุนแรงบางรายสามารถดำรงชีวิตได้ปกติ และเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ เช่นโรคหัวใจ

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากมักเกิดในเพศชายที่มีอายุมาก ประมาณ 80% ของผู้ป่วยที่พบมีอายุมากกว่า 65 ปี และน้อยกว่า 1% ของผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี. ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติมะเร็งชนิดนี้ในครอบครัว

แพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร  แต่อาหารก็เป็นปัจจัยเสียงชนิดหนึ่ง เพศชายที่ชอบรับประทานอาหารพวกเนื้อติดมัน มักจะมีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก  การกินเนื้อสัตว์มีความเสี่ยงเนื่องจากเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกที่อุณหภูมิสูง จะผลิตสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่มีผลต่อต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งชนิดนี้พบได้บ่อยมากในประเทศที่มีอัตราการบริโภคเนื้อสูง โดยจะพบได้มากกว่าในประชาการของประเทศที่บริโภคข้าว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และผักเป็นอาหารหลัก

ฮอร์โมนยังมีบทบาทในการก่อให้เกิดมะเร็ง การรับประทานอาหารทีมีไขมันสูง จะไปเพิ่มฮอร์โมนเพศชายชนิดเทสโทสเทอโรน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมาก

งานบางชนิดก็ทำให้เกิดอันตรายต่อต่อมลูกหมาก ได้ เช่น ช่างเชื่อมโลหะ การทำงานในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ คนงานผลิตยาง และคนงานที่ต้องสัมผัสโลหะแคดเมียมบ่อยครั้ง ก็มักจะมีแนวโน้มที่จะได้รับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

การไม่ออกกำลังกายก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้

ทั้งนี้การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ซอสมะเขือเทศ หรือผัก เช่น บล็อกโคลี่ กะหล่ำดอก หรือกะหล่ำปลี อาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้

 

อาการของโรค

อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร

มะเร็งต่อมลุกหมากที่เกิดขึ้นในระยะต้นมักจะไม่มีสัญญาณเตือน แต่เมื่อเนื้องอกขยายขนาดขึ้นทำให้ต่อมลุกหมากบวมโต หรือมะเร็งแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก อาการที่อาจจะจะเกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน
  • มีความยากลำบากในการปัสสาวะ หรือการพยายามกลั้นปัสสาวะ
  • ปัสสาวะอ่อน
  • เมื่อหัวเราะหรือไอมักจะมีปัสสาวะเล็ด
  • ไม่สามารถที่จะลุกขึ้นยืนปัสสาวะได้
  • ความรู้สึกปวด และแสบเมื่อปัสสาวะ หรือเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกในปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ

    954327

อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากมะเร็งโดยตรง แต่อาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการจากการขยายขนาดของมะเร็งไปกดทับต่อมลูกหมาก ซึ่งอาการเหล่านี้ยังพบได้ในเนื้องงอกต่อมลูกหมากชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง และอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย

อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะรุนแรงประกอบด้วย

  • มีอาการปวดลึก หรือเกร็งบริเวณ กระดูกเชิงกราน, ซี่โครงล่างด้านหลัง หรือบริเวณต้นขา
  • และมีอาการปวดกระดูกในบริเวณเหล่านี้
  • น้ำหนักลด และความอยากอาการลดลก รู้สึกเมื่อยล้า คลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • มีอาการบวมที่ขา
  • มีอาการอ่อนแอ หรืออัมพาตบริเวณขา และมักมีอาการท้องผูก

เมื่อพบอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์โดยทันที

การรักษา

การรักษามะเร็งต่อมลุกหมากไม่มีวิธีการที่ตายตัว  ทางเลือกในการรักษามีมากมาย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงปัจจัยต่างเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละบุคคล สิ่งที่แพทย์จะพิจารณาประกอบการรักษา ประกอบด้วย

  • ขนาดของเนื้องอก และระยะในการแพร่กระจายขอโรค
  • อัตราการเจริญเติบโตของเนื้องอก
  • อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
  • การเลือกแผนการรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย

ทางเลือกในการรักษามีดังต่อไปนี้

การเฝ้าระวังและติดตามการดำเนินของโรค

แพทย์อาจแนะนำให้รอดูอาการก่อนว่าเนื้องอกจะเติบโตหรือแพร่กระจายหรือไม่ ก่อนที่จะทำการรักษา มะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะเติบโตอย่างช้าๆ และแพทย์บางท่านมีความเห็นว่าจะยังไม่ทำการรักษาจนกว่าเนื้องอกจะมีการเปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดอาการ แพทย์จะทำการตรวจเป็นระยะๆเผื่อเฝ้าระวังและติดตามการดำเนินของโรคอย่างใกล้ชิด

การผ่าตัดหรือการศัลยกรรม

วิธีการนี้มักจะเกี่ยวข้องกับผ่าตัดเผื่อเอาทั้งหมดหรือบางส่วนของต่อมลูกหมากออกไป ชนิดของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอก และบริเวณที่พบเนื้องอก

การทำรังสีรักษา

การรักษานี้จะใช้คลื่นพลังงานสูง หรืออนุภาคเพื่อเข้าทำลายหรือฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดเล็กลง รักสีที่ใช้จะมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

การรักษาด้วยฮอร์โมน

ฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายสามารถกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้ ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีนี้คือการช่วยลดระดับของฮอร์โมนเหล่านั้น หรือยับยั้งไม่ให้เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้รับฮอร์โมนเหล่านั้น

การรักษาด้วยเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดอาจให้ผ่านทางการรับประทาน หรือผ่านทางหลอดเลือดดำเข้าสู่ร่างกาย  เพื่อให้ตัวยาเข้าทำลายเซลล์มะเร็ง และทำให้เนื้องอกหดตัว  แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยใช้วิธีนี้เมื่อเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก และการรักษาด้วยฮอร์โมนไม่ได้ผล

การทำชีวบำบัด

การรักษานี้จะทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มในร่างกายเพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็ง โดยจะใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะรุนแรง

การรักษาด้วบิสฟอตเฟส (bisphosphonate)

ในกรณีที่มะเร็งรุกรามไปยังกระดูก การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถบรรเทาอาการปวด และป้องกันไม่ให้กระดูกหักได้

โดยทั่วไปแพทย์มักจะเริ่มต้นด้วยการรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แต่ในบางกรณีท่านอาจจะได้รับการรักษามากกว่าหนึ่งวิธีการร่วมกัน  ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

 

2. มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)

สัญญาณเตือนของ มะเร็งรังไข่ ประกอบด้วยอาการปวดต่อเนื่อง หรือท้อง หรือปวดบริเวณหลัง มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ, คลื่นไส้, และท้องอืด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะการดำเนินของโรคมะเร็ง, การรักษาโรคมะเร็งรังไข่จะรวมถึงการผ่าตัด และการทำเคมีบำบัด

อาการ

มะเร็งรังไข่ มักจะเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ ไม่แสดงอาการจนกว่าจะดำเนินโรคถึงระยะท้ายๆ สิ่งที่สำคัญคือควรสังเกตอาการ และสัญญาณเตือนของมะเร็งชนิดนี้

มะเร็งรังไข่ในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการใดๆที่ชัดเจน 12 อาการดังต่อไปนี้ที่อาจเกิดขึ้นในระยะท้ายๆ

ในบางกรณีมะเร็งรังไข่อาจก่อให้เกิดอาการในระยะเริ่มแรก อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็งรังไข่ประกอบด้วย

  • ท้องอืดบ่อย
  • ปวดท้องหรือบริเวณกระดูกเชิงกราน
  • มีปัญหาในการรับประทานอาหารหรืออิ่มเร็ว
  • ปัญหาในการปัสสาวะ เช่นปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะลำบาก

หากคุณพบอาการเหล่านี้หนึ่งอาการหรือมากกว่า และอาการที่พบมักเกิดขึ้นเกือบทุกวันมานานกว่า 2 หรือ 3 ควรไปปรึกษาแพทย์

บางครั้งอาการเหล่านี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้หญิงบางคน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นโรคมะเร็งรังไข่ แต่อาการเริ่มแรกของโรคมะเร็งรังไข่จะพบได้ดังต่อไปนี้

  • อาการจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
  • อาการจะแตกต่างจากอาการย่อยอาหารผิดปกติ และปัญหารอบเดือน
  • อาการจะเกิดขึ้นเกือบทุกวัน และอาการจะไม่ดีขึ้น

อาการอื่นๆที่อาจขึ้นกับผู้ป่วยสตรีบางท่าน ประกอบด้วย

  • ความเมื่อยล้า
  • อาหารไม่ย่อย
  • ปวดหลัง.
  • มีอาการปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ท้องผูก
  • การเปลี่ยนแปลงรอบประจำเดือน

แต่อาการเหล่านี้ก็ยังสามารถพบได้ในสตรีทั่วไปบางคนที่ไม่ได้เป็นโรคมะเร็งรังไข่

 

การรักษา

ทางเลือกในการรักษา

ทางเลือกของการรักษา และผลการรักษาในระยะยาว (การพยากรณ์โรค) สำหรับผู้หญิงที่มีโรคมะเร็งรังไข่ขึ้นอยู่กับชนิด และระยะของโรคมะเร็ง และยังต้องพิจารณาถึง อายุ สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยคุณภาพชีวิต และความปรารถนาที่จะมีบุตร

ทางเลือกในการรักษาหลักๆมีดังต่อไปนี้

  • ศัลยกรรม ผ่าตัด เพื่อตรวจหาดูเนื้องอกโรคมะเร็ง ซึ่งอาจรวมถึงการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อตรวจสอบการแพร่กระจายของมะเร็ง
  • ทำเคมีบำบัด โดยการให้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ทำหลังการผ่าตัดมะเร็งรังไข่ในทุกระยะ

สตรีที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะรุนแรง อาจได้รัยการทำเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด และหลังจากการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้การรักษามะเร็งในระยะรุนแรงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การรักษาด้วยการฉายรังสี อาจถูกใช้เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยใช้รังสีเอกซ์ความแรงสูงหรือรังสีพลังงานสูงชนิดอื่น ๆ

http://www.webmd.com/prostate-cancer/guide/understanding-prostate-cancer-basics

 

3 .โรคมะเร็งปอด (Lung Cancer)

โรคมะเร็งปอด คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นในปอด และสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้  มะเร็งปอดสามารถป้องกันได้ โดยการไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ของผู้อื่น หรือที่เรียกว่าการสูบบุหรี่มือสองนั่นเอง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

การสูบบุหรี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ในผู้ป่วยโดยในผู้ป่วยจำนวนหนึ่งร้อยรายที่เป็นมะเร็งปอด จะมีสาเหตุมาจากากรสูบบุหรี่จัดอยู่ที่ประมาณ 85 ราย  ในบุคคลที่เคยสูบบุหรี่จัดมากก่อนเป็นเวลานาน และเลิกบุหรี่ได้ในภายหลัง ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบบุรี่เลย ทั้งนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปอด เช่นการบกพร่องทางพันธุกรรมบางชนิด ที่อาจทำให้บางคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด

ควันบุหรี่มือสองยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งปอด ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ ประมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์

ผู้ที่ต้องสูดดมสารเคมีบางชนิดก็มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดเช่นกันผู้ที่ทำงานกับแร่ใยหิน หรือมีการสัมผัสกับฝุ่นยูเรเนียม หรือก๊าซของสารกัมมันตรังสีเรดอน ก็จะมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขาสูบบุหรี่ร่วมด้วย

เนื้อเยื่อปอดที่มีร่องรอย หรือแผลจากการติดเชื้อ เช่น วัณโรค หรือโรคผิวหนังแข็ง(scleroderma) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในเนื้อเยื่อปอด แพทย์เรียกรอยโรคนี้ว่า รอยแผลเป็นมะเร็ง (scar carcinoma)

บางงานวิจัยกล่าวว่า ชนิดของอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด แต่งานวิจัยนี้ยังไม่ได้กล่าวไว้ชัดเจนนัก

อาการของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดมักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก  แต่เมื่อโรคมะเร็งปอดเริ่มแสดงอาการ ก็จะพบอาการได้ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอเรื้อรัง ไอแห้งๆ บางครั้งจะพบเลือดปนมาในเสมหะด้วย
  • มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยครั้ง มีอาการหลอดลมอักเสบ และปอดบวม
  • หายใจสั้น หายใจมีเสียงวี๊ซ มาอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
  • มีเสียงแหบ หน้าบวมและคอบวม
  • มีอาการเมื่อยล้าตามบริเวณไหล่ แขน และมือ
  • มีอาการเมื่อล้า อ่อนเพลีย มีความอยากอาหารลดลง น้ำหนักตัวลด มีไข้บ่อยครั้ง มีอาการปวดหัวเรื้อรัง และปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • กลืนอาหารลำบาก

ปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีการปิดกั้นทางเดินหายใจ หรืออาจเป็นเพราะมะเร็งได้แพร่กระจายเข้าไปในพื้นในที่ปอด หรือพื้นที่ใกล้เคียง หรือส่วนอื่นๆในร่างกาย

ควรไปพบแพทย์โดยด่วนเมื่อไหร่

มีอาการที่เกี่ยวกับโรคปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการไออย่างต่อเนื่อง เสมหะมีมูกเลือด มีเสียงแหบ หายใจมีเสียงวี๊ซ หรือมีอาการปอดติดเชื้ออยู่บ่อยครั้ง แพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงการเอกซเรย์ หรือการทดสอบอื่นๆ

 

จะป้องกันโรคมะเร็งปอดได้อย่างไร

ลดความเสี่ยง

ทางที่ดีที่สุดคือการไม่สูบบุหรี่ และเพื่อหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้เป็นเรื่องง่าย แต่ก็เป็นไปได้ ซึ่งต้องใช้เวลา และความพยายามในการเลิกโดยถาวร คุณอาจไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือเข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ เพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น หากมีเพื่อนร่วมงานที่สูบบุหรี่ ควรกระตุ้นให้พวกเขาเลิกบุหรี่ และขอร้องให้พวกเขาไม่สูบบุหรี่รอบๆตัวคุณ

การสูบบุหรี่ไม่ใช่สาเหตุเดียวของการเกิดโรคมะเร็งปอด การทำงานกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งก็ควรปฏิบัติตามกฎเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองด้วย

 

การรักษาโรคมะเร็งปอด

การรักษามะเร็งปอดขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็งปอดที่เกิดขึ้น การรักษาโรคมะเร็งปอดชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-small cell lung cancer, NSCLC) จะแตกต่างจากการรักษาโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก โดยการรักษาหลักๆคือ

การรักษาเซลล์มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก  ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาโดยการทำเคมีบำบัด การผ่าตัดจะทำในกรณีที่ไม่พบว่ามะเร็งกระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณใจกลางหน้าอก(ต่อมน้ำเหลือง mediastinal) เซลล์มะเร็งบอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก พบได้น้อย โดยปกติมักจะพบว่ามะเร็งได้มีการแพร่กระจายแล้ว  ดังนั้นการทำเคมีบำบัดจึงมักจะเป็นการรักษาหลัก นอกจากนี้คุณอาจจะได้รับการทำรังสีรักษาในการรักษามะเร็งปอดชนิดนี้เซลล์มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาโดยการทำเคมีบำบัด การผ่าตัดจะทำในกรณีที่ไม่พบว่ามะเร็งกระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณใจกลางหน้าอก(ต่อมน้ำเหลือง mediastinal) เซลล์มะเร็งบอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก พบได้น้อย โดยปกติมักจะพบว่ามะเร็งได้มีการแพร่กระจายแล้ว  ดังนั้นการทำเคมีบำบัดจึงมักจะเป็นการรักษาหลัก นอกจากนี้คุณอาจจะได้รับการทำรังสีรักษาในการรักษามะเร็งปอดชนิดนี้

การรักษาโรคมะเร็งปอดชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (Non-small cell lung cancer, NSCLC) สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา ขึ้นอยู่กับระยะการดำเนินของโรคที่แพทย์ได้ทำการวินิจฉัย ผู้ป่วยบางรายที่เป็นมะเร็งปอดขั้นรุนแรงอาจได้รับการรักษาโดยการทำชีวบำบัดร่วมด้วย

http://www.webmd.com/lung-cancer/guide/lung-cancer-overview-facts

http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/type/lung-cancer/treatment/which-treatment-for-lung-cancer

 

4. โรคมะเร็งสมอง (Brain Cancer)

โรคมะเร็งสมอง สามารถแสดงอาการได้หลากหลาย เช่น อาการชัก ง่วงนอน, สับสน, และการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม แต่ไมใช่เนื้องอกในสมองทุกชนิดจะเป็นเซลล์มะเร็ง เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ร้ายแรงก็สามารถทำให้เกิดอาการแสดงคล้ายคลึงกันได้

ชนิดของมะเร็งสมอง

เนื้องอกในสมองคือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในสมอง

  • แม้ว่าการเจริญเติบโตดังกล่าวจะนิยมเรียกกันว่าเนื้องอกในสมอง แต่ไม่ได้หมายความว่าเนื้องอกในสมองทุกชนิดจะเป็นมะเร็งในสมอง คำว่า โรคมะเร็งสมอง จะใช้สำหรับเนื้องอกชนิดที่รุนแรงมากเท่านั้น
  • เนื้องอกมะเร็งสามารถเจริญเติบโตและการแพร่กระจาย ทำลายเซลล์ข้างเคียงที่ปกติ โดยการบุกรุกแย่งใช้พื้นที่ แย่งเลือด และสารอาหารที่มาหล่อเลี้ยง เซลล์เนื้องอกเหล่านี้ยังสามารถแพร่กระจายไกลออกไปในบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายได้ เหมือนกับเซลล์ปกติทั่วไปที่ต้องการเลือดและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอเพื่อความอยู่รอด
  • เนื้องอกที่ไม่บุกรุกเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง หรือแพร่กระจายไปยังพื้นที่ห่างไกลอื่นๆ จะเรียกว่าเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง
  • โดยทั่วไป เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะมีความอันตรายน้อยกว่าเนื้องอกชนิดมะเร็ง แต่เนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรงก็สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติแก่สมองได้ โดยการกดเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง

อาการของโรคมะเร็งสมอง

ไม่ใช่ทั้งหมดเนื้องอกในสมองทุกชนิดจะทำให้เกิดอาการผิดปกติหรือ อาการของโรคมะเร็งสมอง ตัวอย่างเช่นเนื้องอกของต่อมใต้สมอง ที่มักพบโดยบังเอิญเมื่อตรวจด้วยเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) จากการรักษาอื่นๆ  อาการของโรคมะเร็งสมองเกิดขึ้นได้หลากหลายและไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาการอาจเกิดจากโรคอื่นๆก็ได้  วิธีการเดียวที่จะรู้ว่าสิ่งที่จะก่อให้เกิดอาการคืออะไร ซึงคือการไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยโรคเท่านั้น    อาการที่พบได้อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • เนื้องอกกดหรือรุกล้ำเข้าไปในส่วนอื่น ๆ ของสมอง และทำให้สมองบริเวณนั้นทำงานผิดปกติ
  • อาการบวมในสมองที่เกิดจากเนื้องอก หรือการอักเสบรอบๆบริเวณนั้น

อาการของโรคมะเร็งในในระยะแรก และระยะแพร่กระจายจะมีความคล้ายคลึงกัน

อาการที่พบได้ส่วนใหญ่มีดังนี้

  • ปวดหัว
  • อ่อนแรง
  • ซุ่มซ่าม
  • มีปัญหาในการเดิน
  • มีอาการชัก

อาการเตือน และสัญญาณเตือนที่ไม่เฉพาะเจาะจงอื่นๆประกอบด้วย

  • สุขภาพจิตเปลี่ยนแปลง ขาดสมาธิ มีปัญหาเรื่องความจำ มีอาการเฉื่อยชา
  • เคลื่อนไส้ อาเจียน
  • มีความผิดปกติในการมองเห็น
  • มีปัญหาด้านการพูด
  • มีการเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา หรือการตอบสนองทางอารมณ์

ในคนทั่วไปอาการเหล่านี้จะค่อยๆเกิดทีละน้อย บางครั้งตัวผู้ป่วยเอง และคนครอบครัวอาจไม่ทันสังเกตได้  แต่ในบางครั้งที่อาการอาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการคล้ายอาการเส้นเลือดในสมองแตก

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายโดยด่วนเมื่อสังเกตพบอาการดังต่อไปนี้

  • อาเจียนบ่อยผิดปกติเป็นเวลานาน โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มองเห็นภาพซ้อน หรือภาพเบลอโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเกิดความผิดปกติกับดวงตาเพียงข้างเดียว
  • มีอาการเฉื่อยชาหรือง่วงนอนเพิ่มมากขึ้น
  • มีอาการชัก โดยที่ไม่มีประวัติอาการชักมาก่อน
  • มีอาการปวดศีรษะในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

แม้ว่าอาการปวดศีรษะจะเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่คิดว่าจะพบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งสมอง แต่บางครั้งอาการนี้อาจไม่เกิดขึ้นเลย จนกระทั่งเกิดขึ้นในช่วงปลายการลุกลามของโรค  ดังนั้นถ้าสังเกตพบว่ามีอาการปวดศีรษะในรูปแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยทันที

ในผู้ป่วยที่ทราบแล้วว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งสมอง แต่สังเกตพบอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือมีอาการที่แย่ลงกว่าเดิม ควรไปโรงพยาบาลทีใกล้ที่สุดโดยด่วน โดยอาการที่พบได้มีดังนี้

  • มีอาการชัก
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และสภาพจิตใน เช่นง่วงนอนมากเกิน มีปัญหาด้านความจำ หรือขาดความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งที่ทำ หรือขาดสมาธิ
  • การเปลี่ยนแปลงด้านการมองเห็น หรือปัญหาทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ
  • มีความยากลำบากในการพูด หรือการแสดงออก
  • มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม หรือบุคลิกภาพ
  • ซุ่มซ่าม หรือเดินลำบาก
  • คลื่นไส้ อาเจียน (โดยเฉพาะในวัยกลางคน และคนชรา)
  • มีไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดหลังการทำเคมีบำบัด

การรักษาโรคมะเร็งสมอง

สำหรับการรักษาเนื้องอกในสมองมีหลายรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุของแต่ละบุคคล สุขภาพโดยทั่วไป  ขนาด บริเวณที่เกิด และประเภทของเนื้องอก

การวางแผนรักษาโรคมะเร็งสมองมักจะซับซ้อน โดยส่วนใหญ่ในการวางแผนการรักษาจะต้องปรึกษา และขอความร่วมมือจากแพทย์ในหลายสาขาร่วมด้วย

  • ทีมงานแพทย์ที่ทำการรักษาจะประกอบด้วย ศัลยแพทย์ทางประสาท (ผู้เชี่ยวชาญทางสมอง และระบบประสาท), แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา, แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษา และมะเร็งวิทยา(แพทย์ที่รักษามะเร็งด้วยการฉายรังสี) และทีมงานที่ทำการรักษาร่วมกับแพทย์ที่อาจรวมถึงนักโภชนาการ, นักสังคมสงเคราะห์, นักกายภาพบำบัด, และอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ เช่นนักประสาทวิทยา
  • แนวทางการรักษาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ที่ตั้งของเนื้องอก ขนาด และประเภทของเนื้องอกอายุของผู้ป่วย และโรคทางระบบอื่นๆที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
  • การรักษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือการผ่าตัด, การรักษาด้วยการฉายรังสี และเคมีบำบัด โดยส่วนใหญ่จะให้การรักษามากกว่าหนึ่งวิธีร่วมกัน

การผ่าตัดมะเร็งสมอง

ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมองหลายราย จะได้รับการผ่าตัด

  • วัตถุประสงค์ของการผ่าตัด คือการยืนยันว่ามีความผิดปกติที่เห็นในระหว่างการตรวจร่างกาด้วยเครื่องมือต่างๆ เป็นที่แน่นอนว่าคือเนื้องอก และเพื่อผ่าตัดเอาเนื้องอกด้วย แต่ถ้าเนื้องอกนั้นไม่สามารถผ่าออกได้ศัลยแพทย์จะเก็บตัวอย่างของชิ้นเนื้องอกไปส่งตรวจในห้องปฏิบัติการการเผื่อระบุชนิดของเนื้องอกนั้นๆ
  • ในบางกรณีส่วนใหญ่ เนื้องอกชนิดไม่รุ่นแรง อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก โดยศัลยแพทย์ทางประสาท(แพทย์ที่ผ่าตัดสมอง) จะพยายามเอาเนื้องอกทั้งหมดออกไปเท่าที่เป็นไปได้

ท่านอาจจะได้รับการรักษาหลายชนิด และหลากหลายขั้นตอนก่อนการผ่าตัด ตัวอย่างเช่น

  • ท่านอาจจะได้รับยาสเตียรอย เช่น dexamethasone (Decadron) เพื่อบรรเทาอาการบวม
  • ท่านอาจจะรับการรักษาด้วยยากันชักเพื่อบรรเทา หรือป้องกันการเกิดอาการชัก
  • ถ้าคุณมีน้ำไขสันหลังส่วนเกินบริเวณรอบสมอง จะต้องใส่ท่อพลาสติกระบายของเหลวนั้นออกนอกบริเวณสมองก่อน

http://www.webmd.com/cancer/brain-cancer/brain-cancer

 

5. โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง ยกเว้นมะเร็งผิวหนัง และเป็นสาเหตุของการตายโดยโรคมะเร็งลำดับที่สองรองจากโรคมะเร็งปอด สัญญาณเตือนแรกขอ งมะเร็งเต้านม มักจะเป็นก้อนบริเวณเต้านม หรือการคัดกรองความผิดปกติโดยการตรวจภาพรังสีเต้านม  มะเร็งเต้านมมีหลายระดับความรุนแรง ตั้งแต่มะเร็งเต้านมระยะแรก มะเร็งเต้าระยะกลางที่ยังไม่แพร่กระจาย และรักษาได้ไปจนถึงมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ซึ่งแนวทางการรักษาก็จะแต่งต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของมะเร็ง โรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก แต่ถ้าพบต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจัง

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

ในระยะแรกของโรคมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีอาการ เมื่อเนื้องอกขยายใหญ่ขึ้น จะสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้

  • พบก้อนเนื้อในเต้านม หรือใต้วงแขน ที่ยังคงอยู่แม้ว่าจะหมดรอบเดือนแล้ว อาการนี้เป็นอาการที่เห็นได้ชัดในระยะแรกของโรคมะเร็งเต้านม ก้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านมนี้มักจะไม่ทำให้มีอาการเจ็บปวด แม้ว่าผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกปวดแปลบๆเหมือนโดนเข็มตำ ก้อนเนื้อนี้มักจะตรวจเจอได้ตั้งแต่เนิ่นๆจากการตรวจทางภาพรังสี ก่อนที่ก้อนเนื้อจะขยายใหญ่ขึ้นจนสังเกต หรือรู้สึกได้
  • มีอาการบวมใต้รักแร้
  • รู้สึกปวด หรือคัดตึงบริเวณเต้านม แม้ว่าก้อนเนื้อมักจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด อาการปวด หรือคัดตึงนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งเต้านม
  • เนินราบที่เห็นได้ชัด หรือรอยบุ๋มบริเวณหน้าอก อาจบ่งบอกถึงเนื้องอกที่ไม่สามารถเห็น หรือรู้สึกได้
  • มีการเปลี่ยนแปลงในขนาด รูปร่าง และพื้นผิว หรืออุณหภูมิของเต้านม
  • ปื้นสีแดง หรือรอยบุ๋มบริเวณเต้านมคล้ายผิวส้ม อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งเต้านมระยะรุนแรง
  • การเปลี่ยนแปลงบริเวณหัวนม เช่นมีรอยบุ๋ม มีรอยดึง มีอาการแสบร้อน คัน หรือมีแผล
  • มีของเหลวออกมาจากหัวนม ซึ่งอาจจะใส ขุ่นมีเลือดปน หรือเป็นสีอื่นๆ ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากเนื้องอก แต่ก็อาจจะเกิดจากมะเร็งเต้านมได้
  • พบรายหินอ่อนอยู่ใต้บริเวณผิวหนัง
  • สังเกตพบบริเวณพื้นผิวมีความผิดปกติ แตกต่างจาบริเวณอื่น หรือแตกต่างจากเต้านมอีกข้าง

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม

ในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยเป้าหมายหลักของการรักษาคือ

เพื่อกำจัดรอยโรคมะเร็งออกจากร่างกายให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และเพื่อป้องกันการกลับมาของโรค

จะทราบได้อย่างไรว่าควรเลือกแนวทางการรักษาชนิดใด?

แพทย์จะแนะนำแนวทางการรักษา โดยดูจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ชนิดของโรคมะเร็งเต้านม
  • ขนาดของก้อนเนื้อ และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆในร่างกาย (ระยะของโรคมะเร็ง)]
  • ถ้าเนื้องอกนั้นๆตรวจพบตัวรับโปรตีนที่เรียกว่า โปรตีนHER2, โปรตีนเอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน หรือคุณลักษณะเฉพาะอื่นๆ

ถ้าคุณอยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนเป็นปัจจัยในการช่วยเลือกแนวทางการ รักษาด้วย

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมมีกี่ชนิด?

            การรักษาบางวิธีสามารถกำจัด หรือทำลายโรคภายในเต้านมและบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียงเช่นต่อมน้ำเหลือง การ  รักษาเหล่านี้ประกอบด้วย

  • การผ่าตัด เอาเต้านมออกทั้งเต้า(mastectomy) หรือผ่าตัดเอาแค่เนื้องอก และเนื้อเยื่อรอบๆออก(lumpectomy) หรือการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม โดยทีการผ่าตัดมีหลายวิธีการ
  • การรักษาด้วยรังสีรักษา โดยจะใช้คลื่นรังสีพลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

การรักษาอื่น ๆ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือควบคุมไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย

  • การรักษาโดยใช้เคมีบำบัด จะทำโดยการให้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง เนื่องจากยาที่ให้มีความแรง และประสิทธิภาพสูง เพื่อที่จะต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง จึงสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่นคลื่นไส้, ผมร่วง, หมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ มีอาการร้อนวูบวาบ และมีอาการเหนื่อยล้า
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน โดยการให้ยาเพื่อยับยั้งฮอร์โมนโดยเฉพาะเอสโตรเจน(estrogen) เพื่อไม่ให้ฮอร์โมนไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาที่ให้ประกอบด้วย Tamoxifen (Nolvadex, Soltamox) สำหรับผู้หญิงก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือน และ Anastrozole (Arimidex), Exemestane (Aromasin) และ letrozole (Frmara) สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่นมีอาการร้อนวูบวาบ และช่องคลอดแห้ง ยาบางชนิดจะไปยับยั้งการทำงานของรังไข่ไม่ให้สร้างฮอร์โทน ซึ่งทำได้ผ่านทั้งวิธีการผ่าตัด และการให้ยา
  • การให้ยาที่เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง(targeted therapy) เพื่อยับยั้งการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็ง และช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น

คุณอาจได้รับยาเคมีบำบัด, การรักษาด้วยฮอร์โมน หรือได้รับยาที่เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง ร่วมด้วยกับการผ่าตัดหรือการฉายรังสี เพื่อค่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่

http://www.webmd.com/breast-cancer/guide/default.htm

 

6. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder Cancer)

อาการของ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วยอาการปัสสาวะ/ฉี่เป็นเลือด มีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการรักษาเช่นการผ่าตัด เคมีบำบัดและรังสีรักษา

สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุ ของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด การเปลี่ยนแปลงในสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ(DNA)ของเซลล์กระเพาะปัสสาวะอาจมีบทบาทสำคัญ สารเคมีในสิ่งแวดล้อมและบุหรี่การสูบบุหรี่ก็อาจจะส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้ด้วย เมื่อเยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคืองตลอดเวลาเป็นเวลานานการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ซึ่งนำไปสู่เซลล์มะเร็งอาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองนี้อาจเป็นการได้รับรังสีรักษา การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือมีปรสิตที่เป็นสาเหตุของโรคพยาธิใบไม้ในเลือด(schistosomiasis)

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีแนวโน้มเกิดขึ้นได้เป็นสองเท่าในผู้สูบบุหรี่กว่าในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุประมาณครึ่งหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง การสัมผัสกับสารเคมี และสารอื่น ๆ เช่นการทำงานรวมสีย้อม สีฝุ่น เครื่องหนัง ฝุ่นละออง และอื่นๆ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้

อาการที่พบของโรค มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

อาการที่พบบ่อยที่สุดในโรค มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • เลือดหรือลิ่มเลือดในปัสสาวะ(hematuria) เลือดในปัสสาวะเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยจำนวน 8 คนหรือ 9คน ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด10 คน ที่มีโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่มีอาการปวดกระเพาะปัสสาวะร่วม
  • ปวดในระหว่างการถ่ายปัสสาวะ(ปัสสาวะลำบาก)
  • ปัสสาวะกระปิดกระปอย และปัสสาวะบ่อย
  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อย (UTIs)

อาการที่พบ และบ่งบอกถึงระดับความรุนแรงของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่มากขึ้นคือ

  • อาการปวดหลังส่วนล่างบริเวณไต (อาการปวดเอวด้านข้าง)
  • ขาท่อนล่างมีอาการบวม
  • มีการเจริญเติบของกระดูกเชิงกรานใกล้กระเพาะปัสสาวะ (มวลกระดูกเชิงกรานหนาเพิ่มมากขึ้น)

อาการอื่น ๆ ที่พบได้จากการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจายแล้วประกอบด้วย

  • น้ำหนักลด
  • ปวดกระดูก หรือปวดในบริเวณทวารหนัก หรือในบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • มีภาวะเลือดจาง

อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอาจจะคล้ายคลึงกับอาการที่พบได้จากการเกิดโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ทางเลือกของการรักษาและผลการรักษาในระยะยาว (การพยากรณ์โรค) สำหรับผู้ที่มีโรค มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และระยะเวลาที่เกิดโรคมะเร็ง เมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาได้แล้ว แพทย์ของท่านจะยังพิจารณาถึงอายุ สุขภาพโดยรวม และคุณภาพชีวิตของท่านร่วมด้วย

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีโอกาสประสบความสำเร็จรักษาหากเข้ารับทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

ทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็วกระเพาะปัสสาวะมีดังนี้

  • การผ่าตัดเอามะเร็งออก การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว หรือพร้อมกับการรักษารูปแบบอื่น ๆ เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการรักษามากที่สุด
  • การทำเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยการให้ยา การทำเคมีบำบัดอาจจะได้รับก่อนหรือหลังการผ่าตัดก็ได้ แล้วแต่แพทย์จะพิจารณา
  • การรักษาด้วยการฉายรังสี เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยฉายรังสีเอกซ์ความเข้มข้นสูง หรือรังสีพลังงานสูงอื่น ๆ การรักษาด้วยการฉายรังสีอาจจะได้รับก่อนหรือหลังเข้ารับการผ่าตัด และอาจจะได้รับในเวลาเดียวกับการทำเคมีบำบัดก็ได้
  • การใช้ภูมิคุ้มกันรักษา การรักษาวิธีนี้จะใช้การป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายเรา หรือที่เรียกว่าการใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในการทำลายเซลล์มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

http://www.webmd.com/cancer/bladder-cancer/bladder-cancer-cause